มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน

ความปลอดภัย คือ พื้นฐานที่ไม่ควรมองข้ามในการดำเนินกิจการโรงงาน เพราะอุบัติเหตุแม้เพียงครั้งเดียว อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งต่อชีวิต พนักงาน ทรัพย์สิน และภาพลักษณ์ขององค์กร

ในยุคที่การดำเนินธุรกิจต้องแข่งขันกันด้วยความเร็วและประสิทธิภาพ เจ้าของโรงงานหลายรายอาจละเลยการลงทุนด้านความปลอดภัย หรือมองว่าเป็น ค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อรายได้ ทั้งที่ความจริงแล้ว มาตรฐานความปลอดภัยที่ดี คือ รากฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

กับ  7 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ที่เจ้าของกิจการควรรู้และควรมีให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ระบบดับเพลิง

  1. สารบัญ

    ระบบดับเพลิงและอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ (Fire Protection System)

เพลิงไหม้เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุใหญ่ที่พบได้บ่อยในโรงงาน ไม่ว่าจะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร, ความร้อนสะสม, เครื่องจักรขัดข้อง หรือสารไวไฟ หากไม่มีระบบป้องกันที่ดี อาจลุกลามจนควบคุมไม่ทัน

มาตรฐานที่โรงงานควรมี

  • ถังดับเพลิงแบบพกพา (ชนิด Dry Chemical, CO₂, Foam ฯลฯ) ติดตั้งทุกระยะ 15-20 เมตร
  • ระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ (Sprinkler System) เหมาะสำหรับโรงงานขนาดกลาง-ใหญ่
  • หัวฉีดน้ำดับเพลิง (Hydrant) และถังเก็บน้ำสำรองในพื้นที่
  • Fire Alarm System พร้อมเสียงเตือนชัดเจนทั่วพื้นที่
  • ระบบแยกไฟฉุกเฉิน และอุปกรณ์ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุ

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  • ตรวจสอบถังดับเพลิงและสปริงเกอร์ทุก 6 เดือน
  • ฝึกซ้อมดับเพลิงเบื้องต้นกับพนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การติดตั้งสัญญาณเตือนภัย

  1. การติดตั้งสัญญาณเตือนภัยและระบบตรวจจับอันตราย (Alarm & Detection System)

จุดอ่อนที่มักถูกมองข้าม

หลายโรงงานติดตั้งเฉพาะ สัญญาณกันขโมย แต่ละเลยระบบเตือนภัยด้านความปลอดภัย เช่น การตรวจจับควัน ไฟฟ้าลัดวงจร หรือสารเคมีรั่วไหล

ระบบที่ควรติดตั้ง

  • Smoke Detector / Heat Detector ตรวจจับควันหรืออุณหภูมิผิดปกติ
  • Gas Detector ตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซ เช่น LPG, NH₃, H₂
  • Motion Sensor ในพื้นที่หวงห้าม
  • ระบบแจ้งเตือนทันที เช่น สัญญาณเสียง-แสง และระบบแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์/เครือข่าย

ข้อดี

  • ช่วยให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้รวดเร็ว
  • ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนในกรณีที่พนักงานยังไม่รู้ตัว

ระยะห่างระหว่างเครื่องจักร และโซนการผลิต

  1. การเว้นระยะห่างระหว่างเครื่องจักร และโซนการผลิต

เหตุผลด้านความปลอดภัย

การจัดวางเครื่องจักรที่หนาแน่นเกินไป อาจทำให้พนักงานเคลื่อนไหวลำบาก กีดขวางทางหนีไฟ และเพิ่มความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เช่น การถูกหนีบ หรือไฟฟ้าช็อต

มาตรฐานที่ควรยึดถือ

  • เว้นระยะอย่างน้อย 1.2-1.5 เมตร ระหว่างเครื่องจักร
  • แบ่งโซนชัดเจน พื้นที่ผลิต, พื้นที่เก็บวัตถุดิบ, ทางเดิน, ทางหนีไฟ
  • พื้นต้องไม่ลื่น มีเครื่องหมายจราจรในโรงงาน เช่น เส้นเหลืองทางเดิน เส้นแดงเขตห้ามเข้า
  • กำหนดทางหนีไฟทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร

แนวทางเสริม

  • ใช้ Lean Layout เพื่อลดความซับซ้อนของพื้นที่
  • ติดตั้งฉนวนกันเสียง หรือแนวกันระหว่างเครื่องจักรเสียงดัง

ชุด PPE

  1. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE – Personal Protective Equipment)

อุปกรณ์ PPE ที่ควรมี

  • หมวกนิรภัย (Safety Helmet)
  • แว่นตานิรภัย / Face Shield
  • รองเท้านิรภัย
  • ถุงมือกันบาด กันร้อน หรือกันสารเคมี
  • ชุดป้องกันสารเคมี หรือเสื้อสะท้อนแสง
  • ที่ครอบหู / Ear Plug

แนวทางปฏิบัติที่ดี

  • จัดอบรมการใช้งาน PPE อย่างน้อยปีละครั้ง
  • จัดทำ Checkpoint ให้พนักงานตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนเริ่มงาน
  • จัดสรรงบประมาณสำหรับเปลี่ยน PPE เสมอเมื่อหมดอายุ
  1. ระบบระบายอากาศและควบคุมฝุ่น/สารเคมีในอากาศ

การระบายอากาศไม่ดีทำให้เกิดการสะสมของความร้อน สารเคมี ฝุ่น หรือก๊าซพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพนักงานและเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้หรือระเบิด

สิ่งที่โรงงานควรมี

  • พัดลมดูดอากาศ (Exhaust Fan) ทุกจุดที่มีความร้อนหรือสารเคมี
  • ระบบแลกเปลี่ยนอากาศ (Air Exchange System)
  • เครื่องกรองฝุ่น (Dust Collector) โดยเฉพาะในโรงงานไม้ แป้ง โลหะ
  • ปล่องระบายอากาศ ที่สูงพอและไม่ปล่อยสารพิษเกินค่ามาตรฐาน

ตรวจสอบได้อย่างไร?

  • วัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น และคุณภาพอากาศในจุดต่าง ๆ ของโรงงาน
  • ตรวจสอบสภาพแวดล้อมกับกฎหมายของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  1. การอบรมความปลอดภัยและฝึกซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน

แนวทางที่ควรทำ

  • จัดทำ คู่มือความปลอดภัย Safety Manual
  • อบรมความปลอดภัยให้พนักงานใหม่ และทบทวนทุก 6 เดือน
  • ฝึกซ้อม อพยพหนีไฟ / ปฐมพยาบาลเบื้องต้น / ดับเพลิง
  • ตั้ง ทีมความปลอดภัย (Safety Committee) ที่มีตัวแทนพนักงานในแต่ละแผนก
  1. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรเป็นประจำ

ไฟฟ้าลัดวงจร มอเตอร์ระเบิด เครื่องจักรหนีบพนักงาน คือผลลัพธ์ของการขาดการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

วิธีดูแลที่ปลอดภัย

  • ตรวจสอบตู้ไฟฟ้า เบรกเกอร์ และสายดินทุก 6 เดือน
  • ล้างแผงวงจร ตู้ควบคุม และมอเตอร์เป็นประจำ
  • ทดสอบเครื่องตรวจจับไฟฟ้ารั่ว / ระบบตัดไฟอัตโนมัติ
  • ใช้โปรแกรม CMMS หรือ ERP เพื่อจัดการ Maintenance Schedule

แชร์บทความนี้